พิมพ์หนังสือรุ่น

83 / 100

พิมพ์หนังสือรุ่น  หนังสือวิชาการ

พิมพ์หนังสือรุ่นขึ้นมาเพื่อระลึกถึงคืนวันเก่า ๆ ที่รายล้อมไปด้วยเพื่อนฝูง

เพื่อความสะดวกต่อการเตรียมงานของคุณในการสั่งพิมพ์หนังสือรุ่น ทางโรงพิมพ์จึงได้นำขั้นตอนต่าง ๆ มาแนะนำดังต่อไปนี้

พิมพ์หนังสือรุ่น

1. ตั้งงบประมาณและจำนวนเล่มที่ต้องการ โดยคำนวณจากจำนวนห้องเรียนและนักเรียนในแต่ละห้อง เช่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทั้งหมด 5 ห้อง ห้องละ 40 คน จำนวนหนังสือรุ่นที่ต้องการก็จะเท่ากับ 200 เล่ม บวกกับจำนวนเล่มที่ทางโรงเรียนต้องการเก็บเอาไว้อีกจำนวนหนึ่ง สมมติว่า 20 เล่ม ก็จะได้หนังสือรุ่นที่ต้องสั่งพิมพ์ทั้งหมด 220 เล่ม เมื่อได้จำนวนเล่มแล้วก็กำหนดราคาต่อเล่มที่จะเรียกเก็บจากนักเรียน แล้วนำมาคูณกับจำนวนเล่มทั้งหมด ก็จะได้งบประมาณในการจัดทำหนังสือรุ่น เช่น เก็บเงินคนละ 100 บาท งบประมาณในการจัดทำก็จะอยู่ที่ 220×100=22,000 บาท

2. เลือกรูปแบบการพิมพ์โดยดูจากปริมาณของหนังสือรุ่น ถ้ามีจำนวนมากก็ใช้การพิมพ์แบบออฟเซ็ต หากต้องการสั่งพิมพ์ไม่มากก็สามารถขอให้ทางโรงพิมพ์ช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายให้เป็นการเฉพาะได้เช่นกัน

3. กำหนดเนื้อหาที่จะบรรจุลงในหนังสือรุ่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเนื้อหาหลักจะประกอบไปด้วย

– ปกหน้า-หลัง

– ประวัติสถานศึกษา

– บุคคลสำคัญหรือผู้ก่อตั้งสถานศึกษา

– โอวาทจากอาจารย์ใหญ่หรือผู้อำนวยการ

– ทำเนียบอาจารย์

– ภาพสถานที่ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา

– ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา

– ทำเนียบนักเรียน-นักศึกษาแต่ละชั้นปี

– รูปหมู่ของนักเรียน-นักศึกษา

– คณะผู้จัดทำหนังสือรุ่น

– ฯลฯ

4. หนังสือรุ่นว่าจะใช้กระดาษชนิดไหน ส่วนไหนที่พิมพ์ภาพสี่สี ส่วนไหนใช้ภาพขาวดำธรรมดา จำนวนหน้าทั้งหมดเท่าไหร่ พร้อมกับกำหนดขนาดของหนังสือรุ่นด้วย

5. ตรวจสอบราคาว่าอยู่ภายในงบประมาณที่กำหนดหรือเปล่า หากเกินก็ต้องลดสเปคลงมาจากเดิม แต่ถ้างบยังเหลือก็อาจเพิ่มเติมลูกเล่นบางอย่างลงไปได้อีก เป็นต้น

6. สร้างไฟล์งานหรือทำอาร์ตเวิร์ค ซึ่งขั้นตอนนี้ท่านจะทำด้วยตัวเองหรือให้ทางโรงพิมพ์จัดทำให้ก็ได้ โดยเตรียมงานตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

สร้างไฟล์งานเอง

– สร้างไฟล์ด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป (Adobe Photoshop) หรืออิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator)

– กำหนดขนาด (Resolution) ให้เท่ากับหนังสือรุ่นที่ต้องการจะทำ เช่น 300 ppi

– เลือกโหมดสีเป็น CMYK (สำหรับอักษรสีดำให้ใช้ C=0 M=0 Y=0 K=100)

– งานที่มีหลายเลเยอร์ (layer) ให้ทำการรวมเลเยอร์ทั้งหมดก่อนส่งมอบงานเพื่อป้องกันความผิดพลาด

– เซฟไฟล์เป็น .tif หรือ .pdf โหมด CMYK

ให้โรงพิมพ์จัดทำให้โดยการส่งข้อมูลดังต่อไปนี้มาที่เรา

– ข้อความและเนื้อหาทั้งหมดที่จะจัดพิมพ์

– รูปภาพที่ต้องการใส่ลงหนังสือรุ่น หากเป็นภาพขนาดใหญ่จะดีมากเพราะจะได้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น

– แจ้งรูปแบบของหนังสือรุ่นที่ต้องการมาโดยละเอียด

– หรือหากต้องการให้ทางโรงพิมพ์ออกแบบหนังสือรุ่นให้โปรดระบุมาด้วย เมื่อเราทำเสร็จแล้วจะส่งให้ท่านตรวจทานแก้ไขจนกว่าจะพอใจ

การจัดส่งงานสามารถทำง่าย ๆ ดังนี้

– ใช้บริการเว็บฝากไฟล์

– ถ้าไฟล์ไม่ใหญ่มากจะส่งไฟล์ทางอีเมล์ก็ได้ หรือส่งผ่านกูเกิ้ลไดรฟ์ (google drive) กรณีไฟล์มีขนาดใหญ่ โดยส่งมาที่ jrprinting61@gmail.com

– ส่งทาง FTP

เมื่อส่งไฟล์เรียบร้อยแล้ว กรุณาโทรแจ้งทางโรงพิมพ์ให้รับทราบด้วยที่หมายเลข 02-706-5414

7. การชำระเงินจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้

– กรณีทำอาร์ตเวิร์กเองจะแบ่งงวดชำระออกเป็น 2 งวด คือค่ามัดจำ 50% ในงวดแรกเมื่องานทั้งหมดพร้อมจัดพิมพ์ และชำระเงินงวดที่สองเมื่อหนังสือพิมพ์เสร็จเรียบร้อยพร้อมจัดส่ง โดยทางโรงพิมพ์จะถ่ายรูปสินค้าให้แก่ท่านเพื่อเป็นหลักฐาน

– กรณีมอบหมายงานทั้งหมดให้โรงพิมพ์จะแบ่งงวดชำระออกเป็น 3 งวด คือ 20% แรกก่อนเริ่มทำอาร์ตเวิร์ก งวดที่ 2 ชำระอีก 30% เมื่องานพร้อมส่งเข้าโรงพิมพ์ และงวดสุดท้ายคือเมื่อหนังสือพร้อมส่ง

ทุกครั้งที่ทำการชำระเงิน ท่านจะต้องส่งหลักฐานมาให้ทางโรงพิมพ์ด้วยเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ โดย

– แฟกซ์ใบเสร็จหรือหลักฐานการชำระเงินมาที่หมายเลข 02-706-5472

– สแกนหรือถ่ายภาพหลักฐานการชำระเงินมาให้ชัดเจนแล้วส่งมาที่อีเมล์ jrprinting61@gmail.com

8. การจัดส่งสินค้า

– ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือ EMS กรณีสินค้าไม่ใหญ่มาก

– ทางขนส่ง รถทัวร์ รถไฟ ซึ่งท่านสามารถระบุสถานที่ปลายทางเองได้

– เครื่องบิน (การบินไทย) โดยท่านต้องไปรับสินค้าเองที่สนามบิน

– สำหรับค่าขนส่งนั้น ปกติทางโรงพิมพ์จะจัดส่งให้ฟรี แต่ถ้าเป็นการจัดส่งทางไปรษณีย์ EMS และเครื่องบิน อาจมีการเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

 

หนังสือประกอบด้วยส่วนที่เป็น ปกหนังสือ  เนื้อในหนังสือ

กระดาษที่ใช้ในการผลิตหนังสือมีดังนี้

– กระดาษปอนด์ (Bond Paper) ขนาด 70 – 310 แกรม

– กระดาษอาร์ตการ์ด (Art Card Paper) ขนาด 90 – 310 แกรม

– กระดาษการ์ดขาว (White Card Paper) ขนาด 90 – 310 แกรม

– กระดาษถนอมสายตา (Green Read Paper) ขนาด 75 แกรม

ที่นิยมใช้เป็นกระดาษเนื้อในหนังสือได้แก่ กระดาษปอนด์ ขนาด 80 แกรมขึ้นไป, กระดาษอาร์ตมันหรือด้าน ขนาด 90 แกรมขึ้นไป และกระดาษถนอมสายตา

ขนาดของหนังสือ

– 8.25 x 11.75 นิ้ว หรือขนาด A4

– 5.75 x 8.25 นิ้ว หรือขนาด A5

การเข้าเล่มหนังสือ

– เย็บมุงหลังคา สำหรับหนังสือที่ไม่หนามาก

– ไสสันทากาว สำหรับหนังสือที่มีความหนาตั้งแต่ 2 ม.ม. ขึ้นไป

การประเมินราคา

– ร่างแบบหนังสือพร้อมเนื้อหาตลอดทั้งเล่มว่าต้องการใส่ข้อมูลอะไรลงไปบ้าง รวมแล้วทั้งหมดกี่หน้า

– กำหนดจำนวนเล่มที่ต้องการสั่งพิมพ์

– ตกลงราคา

การพิมพ์หนังสือ

– ทำอาร์ตเวิร์กเองหรือให้ทางโรงพิมพ์ทำให้ หากทำเองให้ตั้งค่าความละเอียดไว้ที่ 3 ล้านพิกเซล (pixel) ขึ้นไป แนะนำให้ใช้โปรแกรม Illustrator, Adobe Photoshop 

– ส่งไฟล์งาน

– ทางโรงพิมพ์ปรู๊ฟงานด้วยอิงค์เจ็ตให้เช็คก่อนหนึ่งรอบ

– ปรู๊ฟงานทั้งหมดด้วยระบบดิจิตอล

คลิกเพื่อดู    นานาสาระ

พิมพ์หนังสือ

Total Page Visits: 1532 - Today Page Visits: 0

Related Posts

error: Content is protected !!
โทรเลย